
บทนํา
ในบทนี้จะกล่าวถึงเกตและไอซีพื้นฐานที่มีการใช้งานในระบบดิจิทัล โดยที่ลักษณะของเกตแต่ละชนิดนั้นจะมีอินพุตอย่างน้อย 1 ขา สวนเอาต์พุตจะมีเพียง 1 ขาเท่านั้นซึ่งผลลัพธ์ทางเอาต์พุตที่ได้ออกมาจะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของเกตแต่ละชนิดโดยใช้ตารางความจริง (Truth Table) หรือ แผนผังเวลา (Timing Diagram) เป็นตัวบอกคุณสมบัติของเกต กําหนดให้สถานะของอินพุตและเอาต์พุตของเกตพื้นฐานมีทั้งหมด 2 สถานะดังต่อไปนี้สถานะ 0 (สายดิน หรือ กราวด์) และสถานะ 1 (แรงดัน5 โวล์ต)
ตารางความจริง
ตารางความจริง คือ ตารางที่ใช้ในการแสดงคุณสมบัติของเอาต์พุตของเกตหรือวงจรแต่ละชนิด จากความสัมพันธ์ของอินพุต ซึ่งเอาต์พุตที่เป็นไปได้ทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับจํานวนของอินพุต โดยจํานวน ของเอาต์พุตที่เป็นไปได้ทั้งหมด คือ 2 จํานวนอินพุต เช่น มีอินพุต 3 ตัว จํานวนของผลลัพธ์ของเอาต์พุตจะ มีทั้งหมด 2ยกกำลัง3 = 8 กรณี เป็นต้น
ตัวอย่างของตารางความจริง


ตารางแสดงตัวอย่างของตารางความจริงที่มีอินพุต 2 ตัว เพราะฉะนั้นของผลลัพธ์ของ เอาต์พุตจะมีทั้งหมด 2ยกกำลัง2 = 4 กรณีดังนี้ อินพุต A = 0, อินพุต B = 0 จะได้เอาต์พุต Y = 1 อินพุต A = 0, อินพุต B = 1 จะได้เอาต์พุต Y = 1 อินพุต A = 1, อินพุต B = 0 จะไดเอาต์พุต Y = 0 อินพุต A = 1, อินพุต B = 1 จะไดเอาต์พุต Y = 1
แผนผังเวลา
แผนผังเวลา คือ แผนผังที่ถูกนํามาใช้สําหรับพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างสถานะของสัญญาณ อินพุตทั้งหมดและสถานะของสัญญาณเอาต์พุตทั้งหมดที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา

ตัวอย่างแผนผังเวลา

จากตารางแสดงตัวอย่างของแผนผังเวลาจากความสัมพันธ์ของอินพุตและเอาต์พุตทั้งหมดที่ เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา ดังนี้
ช่วงเวลา t1 : อินพุต A = 0, อินพุต B = 0 จะได้เอาต์พุต Z = 0
ช่วงเวลา t2 : อินพุต A = 1, อินพุต B = 0 จะได้เอาต์พุต Z = 1
ช่วงเวลา t3 : อินพุต A = 0, อินพุต B = 1 จะได้เอาต์พุต Z = 1
ช่วงเวลา t4 : อินพุต A = 1, อินพุต B = 0 จะได้เอาต์พุต Z = 1

